หัวข้อ

อาหารเพื่อสุขภาพ

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562





10 เมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่ควรทาน



อาหารคือจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพ
       ปัจจุบันใครต่อใครก็ต่างสนใจในการดูแลสุขภาพกันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย รวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการบำบัด รักษา ป้องกันโรค เพื่อความสวยงาม เพื่อการลด หรือเพิ่มน้ำหนักจนกลายเป็นกระแสการรับประทานเพื่อสุขภาพกันอย่างแพร่หลาย และวันนี้เรามีเมนูเพื่อสุขภาพดี ๆ มาแบ่งปันกันค่ะ
1.แกงเขียวหวานไก่


       เมนูแบบไทยๆ ที่จะรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ หรือจะทานคู่กับขนมจีนก็อร่อยไม่แพ้กันด้วยเครื่องแกงและเครื่องเทศจากสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการป้องกันและรักษาโรค พริกในเครื่องแกงก็มี กรดแคปไซซิน กับเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงสายตาแถมด้วยผักที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ส่วนเนื้อไก่ก็ยังอุดมไปด้วยโปรตีน และมีวิตามินบีช่วยบำรุงสมองอีกด้วย
2.ขนมปังทูน่า 

       เมนูประยุกต์ รับประทานเป็นมื้อเช้าอุดมไปด้วยโปรตีนจากไข่และทูน่าที่ใช้ไข่ขาวซึ่งให้แคลอรี่ต่ำแล้วใส่ทูน่าลงไปแทนที่ไข่แดง รับประทานคู่กับขนมปังโฮลวีทและผักสดตามใจชอบ อร่อยแบบคลีนๆ ไม่ต้องปรุงแต่งรสชาติ รับรองว่าดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอนค่ะ
3.ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน
       เมนูที่ใช้สารพัดผักเป็นเครื่องปรุง ทานกับแป้งห่อก๋วยเตี๋ยวแบบพอดีคำเสิร์ฟกับน้ำจิ้มลุยสวนรสเด็ด ในการรับประทาน อาจจะเปลี่ยนจากเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นวุ้นเส้น ส่วนของไส้จะใช้เนื้อปลาทูน่าหรือเนื้อหมูสับได้ตามใจชอบเลยค่ะ นอกจากนี้ในส่วนของแผ่นห่อ เปลี่ยนจากแผ่นห่อแป้งเป็นห่อจากผักเพื่อให้ได้แคลอรี่ที่ต่ำสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักแถมยังได้ ประโยชน์จากสารอาหารมากขึ้น
4.สลัดอกไก่
       มาที่เมนูสลัดกันบ้าง ขึ้นชื่อว่าสลัดแล้วย่อมดีต่อสุขภาพแน่นอนค่ะโดยเฉพาะผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักแล้วพลาดไม่ได้เลยล่ะค่ะ เมนูนี้เน้นผักต่างๆ ซึ่งมีรสชาติดีให้ความหวานและกรอบมีวิตามินสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอและวิตามินซี อีกทั้งยังมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงนำมาผสมกับผักสลัดตามชอบเสริมโปรตีนด้วยอกไก่ไขมันต่ำราดด้วยน้ำสลัดไขมันต่ำใครอยากสุขภาพดีต้องจัดเลยค่ะ
5.ส้มตำ ไก่ย่าง
       อาหารรสแซบถูกปากของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นมะละกอที่มีสรรพคุณช่วยล้างพิษในลำไส้ มะเขือเทศช่วยบำรุงผิวพรรณรับประทานคู่กับไก่ย่างเพื่อเสริมโปรตีนให้สุขภาพแข็งแรงนอกจากรสชาติจะอร่อยเด็ดแล้วยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และยังเป็นสุดยอดของอาหารต้านชราอีกด้วย
6.สุกี้ผักรวม
       เมนูผักรวมนี้ ให้ไฟเบอร์จากธรรมชาติพร้อมวิตามินและแร่ธาตุจะเป็นสุกี้น้ำหรือแห้งรับประทานพร้อมน้ำจิ้มรสเด็ด หรือจะเพิ่มโปรตีนจาก เนื้อหมู หรือซีฟู้ดก็ได้ตามใจชอบเลยค่ะรับรองเลยค่ะว่าเมนูจานนี้จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงแถมให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งอ่อนเยาว์ได้อย่างแน่นอน
7.ข้าวยำ


       เมนูข้าวแซบๆ อาหารจานเดียวเพื่อสุขภาพดีด้วยสรรพคุณของสมุนไพรที่อัดแน่นอยู่ในจาน  รับประทานกับผักหลากชนิด ไม่ว่าจะเป็น ข้าวยำปักษ์ใต้ ข้าวยำสมุนไพร ข้าวยำเกาหลี และเมนูข้าวยำอื่นๆ นอกจากจะกินอร่อยแล้ว ล้วนมีผลดีต่อสุขภาพ แถมยังช่วยให้ขับถ่ายดีเยี่ยมเลยทีเดียว
8.เต้าหู้นึ่งซอสโชยุ
       มาที่เมนูสไตล์ญี่ปุ่นกันบ้าง เต้าหู้จากถั่วเหลืองเนื้อนุ่มที่อุดมไปด้วยโปรตีนย่อยง่ายชูรสด้วยซีอิ๊วญี่ปุ่น ซอสโชยุผสมน้ำมันงาและน้ำตาลทราย โรยหน้าด้วยไช้เท้าขูดตามด้วยต้นหอมญี่ปุ่นซอยวางลงบนเต้าหู้แล้วนำไปนึ่งก็จะได้เต้าหู้นึ่งซอสโชยุหอมๆ จะรับประทานคู่กับข้าวหมูทอดทงคัตสึหรือข้าวสวยญี่ปุ่นร้อนๆ ก็อร่อยเด็ด

9.ผัดไท


       เมนูขึ้นชื่อที่ดังไปทั่วโลกที่ได้โปรตีนเพียบทั้งจากเต้าหู้ เนื้อสัตว์ ไข่และถั่วเสิร์ฟพร้อมผักสดอย่าง กุยช่าย ถั่วงอก ใบบัวบก หรือหัวปลี ซึ่งเต็มไปด้วยวิตามินแร่ธาตุและสารพฤกษฮอร์โมนที่ช่วยลดไขมันและป้องกันมะเร็งได้อีกด้วย สำหรับใครที่ต้องการลดความอ้วนก็ลดปริมาณของเส้นลงหรืออาจจะเปลี่ยนเป็นใช้วุ้นเส้นผัดแทนก็ได้ค่ะ
10.แกงเลียงกุ้งสด
       อาหารไทยขึ้นชื่อที่อุดมไปด้วยสารพัดผัก ที่มีสรรพคุณทางยาเพียบ ไม่ว่าจะเป็น บวบ ฟักกทอง หัวปลี น้ำเต้าอ่อน ตำลึง ข้าวโพดอ่อน เห็ดฟาง เป็นต้นและผักที่ขาดไม่ได้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์นั่นคือใบแมงลัก ซึ่งทำให้แกงเลียงมีกลิ่นหอมโดยในใบแมงลักนี้มีสารเบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็งโรคหัวใจขาดเลือดและยังมีสรรพคุณช่วยเรียกน้ำนมให้กับคุณแม่เพิ่งคลอดอีกด้วย
จาก 10 เมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่เรานำมาฝากกันวันนี้ คงจะมีเมนูที่ถูกใจกันอยู่บ้างนะคะ หากใครที่กำลังมองหาเมนูเพื่อสุขภาพอร่อยๆ กันอยู่ลองนำไปทำดูก็ได้ค่ะ ทั้งง่ายและอร่อยอีกด้วย
9 วิธีกินดีเพื่อสุขภาพ






วิธีที่ 1:กินอาหารครบ 5 หมู่-หมั่นดูแลน้ำหนักตัว

       
       กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว 
ข้อแนะนำนี้เป็นข้อแนะนำหลัก ยึดอาหารหลัก 5 หมู่ และเพิ่มความสำคัญของการกินอาหารแต่ละหมู่ให้มีความหลากหลาย ไม่จำเจอยู่เพียงอาหารไม่กี่ชนิด น้ำหนักตัวเป็นเครื่องบ่งชี้อย่างง่ายถึงภาวะสุขภาพ ในผู้ใหญ่ที่กินอาหารได้เหมาะสม จะมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม มีรูปร่างที่ไม่อ้วนหรือผอมเกินไปและมีน้ำหนักตัวค่อนข้างคงที่ หากสังเกตเห็นว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากน้ำหนักปกติ แสดงให้เห็นว่าเริ่มกินอาหารมากเกินไปแล้ว ควรจะต้องหันมาควบคุมลดปริมาณให้น้อยลง โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เสื้อผ้าคับก่อนที่เริ่มรู้สึกตัวเพราะเสื้อผ้าสมัยใหม่มักนิยมใช้สายยืดเพื่อให้สวมใส่สบายหรือหากพบว่า
น้ำหนักตัวลดลงเรื่อยๆ ก็ควรต้องให้ความสนใจพร้อมทั้งสังเกตว่ามีการอ่อนเพลีย ง่วง ซึม หรืออาการที่แตกต่างไปจากปกติเกิดขึ้นด้วยหรือไม่ ถ้ามีอาการมากควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ สำหรับเด็ก ร่างกายมีการเจริญเติบโต น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่เหมาะสม ดังนั้น ควรหมั่นชั่งน้ำหนักตัวอย่างน้อยเดือนละครั้ง

วิธีที่ 2 :กินข้าวเป็นอาหารหลัก-สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ

       กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ 
เพื่อเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของคนไทย จึงให้ความสำคัญกับการกินข้าวเป็นอาหารหลัก ถ้าเป็นไปได้ ควรกินข้าวซ้อมมือ เพราะมีวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีนและใยอาหารมากกว่าข้าวที่ขัดสีจนขาว ส่วนอาหารแป้ง เช่น ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ให้กินเป็นบางมื้อ อาหารแป้งเป็นอาหารที่ผ่าน-การแปรรูป ใยอาหารจะมีน้อยกว่าในข้าว

วิธีที่ 3 :กินพืชผักให้มาก-กินผลไม้เป็นประจำ
       
       กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ อาหารหลัก 5 หมู่ ของไทยมีเอกลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การจัดแยกพืชผัก และผลไม้เป็นอาหารหลักคนละหมู่ เนื่องจากประเทศไทยมีพืชผักและผลไม้อุดมสมบูรณ์ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคได้ตลอดปี 
พืชผักและผลไม้ให้สารอาหารที่สำคัญหลายชนิด คือ วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร และให้สารอื่นที่มิใช่สารอาหาร เช่นสารแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยไม่ให้อนุมูลอิสระทำลายเนื้อเยื่อและผนังเซลล์ ช่วยชะลอการเสื่อมสลายของเซลล์ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ดูสดใส ไม่แก่เกินวัย นอกจากนี้ยังให้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรที่ช่วยรักษาสุขภาพ

วิธีที่ 4 : กินปลา-เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน-ไข่-ถั่วเมล็ดแห้ง

       กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ เป็นการกินอาหารที่ให้โปรตีน โดยเน้นปลาและอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง เช่น เต้าหู้ชนิดต่างๆ สำหรับเนื้อสัตว์ให้เลือกที่ไม่ติดมัน หรือที่มีมันน้อย ไข่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ ควรกินเป็นประจำ เด็กควรกินวันละฟอง ผู้ใหญ่ภาวะปกติควรกินวันเว้นวัน หรือสัปดาห์ละ 2-3 ฟอง ส่วนคนที่มีปัญหาภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือดควรลดปริมาณลง

วิธีที่ 5 : ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย

       บางคนอาจมองเห็นว่าน้ำนมเป็นอาหารของต่างชาติ ไม่ควรส่งเสริมการบริโภค น่าจะให้คนไทยไปบริโภคอาหารอย่างอื่นจะดีกว่า อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาโดยรวม จะเห็นได้ว่าน้ำนมเป็นอาหารที่มีประโยชน์สมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของโปรตีน แคลเซียม วิตามินบี 2 และแร่ธาตุต่างๆ นอกจากนี้น้ำนมเป็นอาหารที่กินง่าย ราคาไม่แพงเกินไป มีหลายชนิดหาได้ทั่วไป จีงเป็นการสะดวกที่จะใช้เป็นอาหารสำหรับคนทุกวัย ในกรณีที่ห่วงว่าคื่มนมมากๆ อาจทำให้อ้วน ผู้บริโภคสามารถเลือกดื่มนมพร่องไขมันได้ และในเวลาเดียวกันควรควบคุมปริมาณไขมันในอาหารชนิดอื่นด้วย เพราะเพียงไขมันจากน้ำนมอย่างเดียวไม่น่าที่จะทำให้เกิดโรคอ้วน ปริมาณที่แนะนำคือ เด็กควรดื่มวันละ 1-2 แก้ว ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุควรดื่มวันละ 1 แก้ว

วิธีที่ 6 : กินอาหารที่มีไขมันแต่พอตัว

        ถึงแม้ไขมันจะเกี่ยวข้องกับปัญหาโภชนาการ เช่น โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูงที่นำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้ แต่ร่างกายต้องการไขมันเพื่อสุขภาพด้วยเช่นกัน เพียงแต่จะต้องควบคุมปริมาณและชนิดของไขมันที่จะบริโภคให้เหมาะสม ลดอาหารที่มีไขมันมาก เช่น หมูสามชั้น ขาหมูพะโล้และอาหารที่ใช้น้ำมันหรือกะทิจำนวนมากในการประกอบอาหาร

วิธีที่ 7 :หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด-เค็มจัด

 ส่วนประกอบสำคัญของอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ได้แก่ น้ำตาล และเกลือแกง ซึ่งส่วนประกอบทั้ง 2 ชนิดเมื่อบริโภคมากเกินไป พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคอ้วน และโรคความดันโลหิตสูง วิธีปฏิบัตินอกจากการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัดแล้ว ผู้บริโภคควรพยายามรับประทานอาหารที่มีรสธรรมดา ไม่ควรที่จะต้องเติมน้ำตาลหรือเกลือเพิ่มเติมในอาหารที่ปรุงแล้ว หรือหันมากิน
อาหารแบบไทยเดิม ที่มีกับข้าวหลายชนิดเพื่อให้เกิดรสชาติที่หลากหลาย

วิธีที่ 8 : กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน
       
       การกินอาหารที่สะอาดนับเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยลดอันตรายจากสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ซึ่งอาจเป็นเชื้อโรค พยาธิ สารพิษ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ ผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ มีการผลิตที่ถูกต้อง มีการเก็บรักษาที่เหมาะสม อาหารสำเร็จรูปควรบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม สะอาด มีฉลากที่ถูกต้อง บอกวันหมดอายุ ส่วนประกอบ ชื่ออาหาร สถานที่ผลิต นอกจากนี้ผู้บริโภคควรมีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร การใช้ช้อนกลางหรือใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหารมากกว่าการใช้มือ

วิธีที่ 9 :งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

       เมื่อดื่มมาก จะมีผลทำให้การทำงานของระบบสมองและประสาทช้าลง ทำให้เกิดการขาดสติได้ง่าย ที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ เสียทรัพย์ เสียสุขภาพ ก่อให้เกิดโรคตับแข็งและการขาดสารอาหารที่สำคัญหลายชนิด ดังนั้นควรลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด

อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Food)


 อาหารเพื่อสุขภาพ หมายถึง อาหารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย นอกเหนือจากสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้อาจช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อโรคต่างๆ และที่สำคัญคือการรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะจะช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และจะส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วย ส่วนความหมายเฉพาะเจาะจง มีความหลากหลายมาก แต่โดยรวมแล้ว เกิดจากผู้บริโภค ที่มุ่งเน้นเป้าหมาย เพื่อการมีสุขภาพที่ดีและมีอายุที่ยืนยาว ดังนั้นจึงต้องการควบคุมปริมาณของอาหารที่รับประทานเข้าไป และการไม่มีโรค รวมทั้งส่งผลต่อเนื่องไปยังการมีสุขจิตที่ดีด้วย ผู้บริโภคเริ่มนำเรื่องการบริโภคอาหาร และสุขภาพมาเชื่อมโยงกัน เช่น ผู้บริโภคบางคนมองว่า หากบริโภคอาหารดี จะมีผลดีต่อสุขภาพกาย และใจของผู้บริโภคนั้น ในทางตรงข้าม หากมีการบริโภคไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆได้ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพาต เป็นต้น อีกทั้งมีการมองว่า วัยแต่ละวัยควรได้รับอาหารที่แตกต่างกันตามวัย เช่น ในวัยเด็ก เนื้อสัตว์ ไข่ และนม ยังเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากร่างกายมีการเจริญเติบโต ในขณะที่วัยผู้ใหญ่ ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทไขมัน หรืออาหารหวานมากกินไป เพื่อไม่ให้เกิดไม่ผลเสีย หรือโรคภัยไข้เจ็บแก่ร่างกาย และการบริโภคอาหารที่ถูกหลัก อาจจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและโรคแทรกซ้อนของผู้บริโภคได้ รวมทั้งมีบางส่วนมองการไกลว่าจะทำให้อาหารเป็นยา ได้อย่างไร ส่งผลให้ตลาดอาหารสุขภาพเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

       ในยุคของการแข่งขัน ที่เรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน ชีวิตมีความรีบเร่งมากขึ้น จนไม่ค่อยมีเวลาที่จะให้ความสำคัญกับเรื่อง ความสมดุลของอาหารที่รับประทานรวมทั้งค่านิยมการรับประทานอาหารแบบตะวันตก ซึ่งประกอบด้วย เนื้อสัตว์ ไขมัน นม เนย เป็นส่วนใหญ่ ทำให้คนไทยมีโรค ซึ่งเกิดจากการกินดีเกินไป เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอัมพาต ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับความเสื่อมของหลอดเลือด
       ในปัจจุบันชาวตะวันตกเริ่มตระหนักถึงพิษภัยของการกินอาหาร ซึ่งไม่สมดุลได้มีการชักชวนให้ลดการรับประทาน เนื้อสัตว์ นม เนย ให้เพิ่มการรับประทาน พืช ผัก และธัญพืช ซึ่งอุดมด้วยเส้นใยจากธรรมชาติ และวิตามิน
       ในวัยเด็ก เนื้อสัตว์และนม ยังเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากร่างกายมีการเจริญเติบโตในวัยผู้ใหญ่ร่างกายต้องการโปรตีนลดลง การรับประทานเนื้อสัตว์ และนมมากเกินไปยังทำให้ร่างกายได้รับไขมันเพิ่ม เนื่องจากในเนื้อสัตว์และนมจะมีปริมาณไขมันค่อนข้างสูง นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์มาก ๆ มีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สงูควรเปลี่ยนแปลงมารับประทานโปรตีนจากพืชพวกถั่วแทน
       อาหารที่ควรรับประทานคือ ผัก ผลไม้ ธัญพืช เช่น ข้าวซ้อมมือ ถั่ว เพราะอุดมไปด้วย กากใยธรรมชาติ วิตามิน และเกลือแร่ปัจจุบันอาหารเพื่อสุขภาพ ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านการวิจัยและเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นมูลค่ามาก ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับอาหารและสุขภาพมากขึ้นจึงทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ เช่น การเสริมวิตามิน,เส้นใยและกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายประทานได้ในคนปกติ รวมทั้งคนป่วย เพราะอาจลดความเสี่ยงในโรคที่อาจจะเกิดร่วมขึ้นหรือป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาหรือทำให้สุขภาพดีขึ้น ได้ประโยชน์มากขึ้นกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารสุขภาพทุกชนิดของกิฟฟารีนมีงานวิจัยถึงคุณประโยชน์อย่างชัดเจนและสามารถแนะนำได้ในหลายโรคด้วยกันเช่น
  • เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
  • เพิ่มศักยภาพให้ระบบต่อต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant)
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเเละหลอดเลือด
  • ลดความเสี่ยงต่อโรคลมปัจจุบัน
  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อต่ออักเสบ ความเสื่อมเฉพาะจุด  เเละโรคต้อกระจก
  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์  พากินสัน  โรคหืดหอบ โรคปอด เเละโรคที่เกิดจากความเสื่อมชนิดเรื้อรังอื่นๆ
  • พัฒนาการรักษาโรคที่เกิดจากความเสื่อมเรื้อรังอย่างมีประสิทธิภาพ
        อาหารอีกกลุ่มซึ่งไม่ควรรับประทานมากเกินไป คือ น้ำตาล พบว่าน้ำตาลทำให้หลอดเลือดมีความเสื่อมเร็วขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสูงจะพบว่าหลอดเลือดแก่ก่อนวัย ไขมันก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรจำกัด และใช้น้ำมันจากพืชแทน น้ำมันจากสัตว์ ยกเว้นน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีโคเรสเตอรอลสูง
       สุขภาพของเราขึ้นกับกรรมพันธุ์ การออกกำลังกายและอาหาร เราควรเริ่มเอาใจใส่กับอาหารที่รับประทานเสียแต่วันนี้ รอให้เกิดโรคก่อนอาจไม่ทันการ
       Functional Food หรืออาหารเพื่อสุขภาพ หมายถึง อาหารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย นอกเหนือจากสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้อาจช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อโรคต่างๆ
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต ดังนั้นเราต้องใส่ใจในเรื่องการรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ
การรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะจะช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และจะส่งผลให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วย
       อาหารสุขภาพ ช่วยดำรงส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงของการเกิดโรค สามารถรับ